วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมาย และความสำคัญของมาตรฐาน ISO 9000



ความหมาย และความสำคัญของมาตรฐาน ISO 9000
                                ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization หรือ International Standard Organization ซึ่งเป็น องค์การสากล ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนด หรือปรับมาตรฐานนานาชาติของเกือบทุกประเทศ (ยกเว้นทางด้านไฟฟ้า ซี่งเป็นหน้าที่ของ IEC) เพื่อให้ประเทศต่างๆ ในโลกสามารถใช้มาตรฐานเดียวกันเนื่องจากแต่ละประเทศมีมาตรฐานคุณภาพของตนเอง
                          ปัจจุบันองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน หรือ ISO มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนิวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประกอบด้วยสมาชิกจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกปัจจุบัน 137 ประเทศโดยมีภารกิจหลักๆ ดังนี้
                1. ให้การสนับสนุนพัฒนามาตรฐาน และภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบสนองต่อการขาย การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการของนานาชาติทั่วโลก
                2. พัฒนาความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ และภูมิปัญญาของมวลมนุษยชาติระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000 เป็นระบบการบริหารงานเพื่อให้เกิดคุณภาพ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการ และการประกันคุณภาพโดยเน้นความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ และตั้งอยู่บนความคิดพื้นฐานที่ว่าเมื่อกระบวนการดี ผลที่ได้ออกมาก็จะดีตามไปด้วย พนักงานจะต้องได้รับการอบรมเพื่อให้เกิดทักษะ และมีความรับผิดชอบที่จะปฏิบัติงานให้ถูกต้องเป็นระบบทุกขั้นตอน ตามเอกสารที่ได้จัดทำขึ้น มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยืดหยุ่นได้ สามารถนำไปใช้ในการบริหารงานได้ในทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรม การผลิตและการบริการทุกขนาด เป็นระบบการบริหารงานที่นำไปใช้กันมากที่สุดในโลก
คุณภาพ ISO 9000 ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.. 1987 เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการรับผลิตภัณฑ์หรือการบริการ มาตรฐานดังกล่าวระบุถึงข้อกำหนดที่จำเป็นต้องมีระบบคุณภาพ และใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฎิบัติซึ่งสามารถนำไปใช้ได้กับอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ธุรกิจการค้า การบริการทั้งขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ มาตรฐาน ISO 9000 นี้จะระบุถึงหน้าที่ วิธีการปฎิบัติและหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กรนั้น ๆเป็นไปตามลูกค้าต้องการกลุ่มประชาคมยุโรป หรือ EC ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนี้ ได้ใช้มาตรฐานนี้ในการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ  ในการผลิตสินค้านำเข้าสู่ตลาดโลกนั้น  ได้มีการเน้นเรื่องคุณภาพมาตรฐานของสินค้า ถึงแม้แต่ละประเทศจะมีหน่วยงานตรวจสอบมาตรฐานรับรองอยู่แล้วก็ตาม  แต่มาตรฐานของประเทศหนึ่งอาจใช้ไม่ได้ในอีกประเทศหนึ่ง ทำให้เกิดปัญหาและมีความยุ่งยากในการตรวจสอบคุณภาพ อีกทั้งยังทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมาก จึงทำให้เกิดระบบรับประกันการบริหารคุณภาพสากล ที่เป็นมาตรฐานแบบเดียวกันใช้ได้ทั่วโลก และสามารถตรวจสอบคุณภาพจากองค์กรฝ่ายที่ 3 (Third – Party Assessment ) ได้เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง นั่นคือระบบบริหารคุณภาพ ISO9000
                การกำหนดมาตรฐานระบบคุณภาพ ISO 9000 ขึ้นนี้เปรียบเสมือนเป็นกุญแจที่เปิดประตูการค้าให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ตลาดที่สำคัญที่จะต้องเปิดด้วยกุญแจดอกนี้ได้แก่ กลุ่มสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการแข่งขันทางด้านการค้าสูง และมีความเคร่งครัดในเรื่องของผลิตภัณฑ์และการบริการที่มีคุณภาพตามความต้องการอย่างสม่ำเสมอและตลอดไปสิ่งที่มีการยอมรับกันแพร่หลายในปัจจุบันก็คือ การจัดองค์กรและการบริหารงานคุณภาพอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ประเทศต่างๆ  ได้พยายามปกป้องผลประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมในประเทศของตน โดยการนำเอาระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000 ไปใช้เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันธุรกิจจนเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า ในการค้าระหว่างประเทศจะต้องมีใบรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9000 ซึ่งเป็นระบบสากลที่นานาประเทศยอมรับ  ถือเป็นใบผ่านทางที่จะทำธุรกิจนานาชาติ เพราะในการค้าระหว่างประเทศนั้น ต้องใช้กติกาสากลเหมือนกันทั่วโลกเกี่ยวกับการออกใบรับรองระบบคุณภาพ ISO 9000 เพื่อสร้างความมั่นใจต่อลูกค้าได้ว่า
สินค้ามีคุณภาพตามมาตรฐานโลก
                สำหรับประเทศไทย นำระบบมาตรฐาน ISO 9000 เข้ามาในประเทศเมื่อปี พ.. 2534 โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการให้มีการประกาศใช้เป็นมาตรฐาน อนุกรมมาตรฐาน มอก. 9000 เป็นมาตรฐานระดับชาติเพื่อให้บริษัท หรือผู้ส่งมอบ และผู้ซื้อนำไปใช้ มีสาระสำคัญ มีเนื้อหาและรูปแบบเช่นเดียวกับอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 ขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศทุกประการ มาตรฐานบังคับให้ผู้ขายหรือผู้ผลิต หรือผู้ให้บริการต้องจัดระบบบริหารคุณภาพในองค์กรให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ถ้าองค์กรมีระบบบริหารคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานจะได้รับใบรับรองและขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อองค์กรที่ได้รับการรับรองปัจจุบันในประเทศไทย หน่วยงานที่ให้การรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 ได้แก่ สมอและบริษัทเอกชนที่เป็นตัวแทนการขอการรับรองจากต่างประเทศอีกประมาณ 10 กว่าบริษัท ประมาณกันว่าสิ้นปี พ.. 2541 ไทยเรามีองค์กรทีได้รับการรับรองไปแล้วคาดว่าไม่ต่ำกว่า 1,000 องค์กร แต่ถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียถือว่าน้อยมาก ในประเทศสิงคโปร์ในปัจจุบันมี 3,000กว่ารายประเทศมาเลเซียมีไม่ต่ำกว่า 1,500 ราย
ฮ่องกงมี 2,000 กว่าราย ประเทศอินโดนีเซียมีไม่ต่ำกว่า 500 ราย ประเทศไต้หวันมี 2,000 กว่าราย ประเทศอังกฤษมี60,000 กว่าราย และอีก 10 ปีข้างหน้า สหรัฐอเมริกาจะมีจำนวนถึง 300,000 ราย แต่ปัจจุบันกระแสของมาตรฐาน ISO 9000 ทั่วโลกกำลังเป็นที่นิยมมากเพราะจะทำให้มีผลกระทบด้านการตลาดสูง  ถึงแม้สินค้าจะไม่ส่งออกก็จำเป็นต้องขอการรับรอง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและได้พัฒนาระบบการบริหารคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันจึงทำให้มีผู้สนใจขอการรับรองเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในประเทศไทยและนานาประเทศ ซึ่งจะเห็นได้จากบริษัทผู้จดทะเบียนในต่างประเทศมีการรอขอการรับรองจากองค์กรต่างๆ เป็นจำนวนมาก สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่เป็นสำนักงานตัวแทนในไทยจำนวน 10 กว่าราย ก็มีการจองคิวรออยู่ไม่น้อย ได้มีการขยับขยายองค์กรเพิ่มมากขึ้น และมีบริษัทตัวแทนใหม่ ๆ จากต่างประเทศเข้ามามากขึ้น เพื่อสนองต่อเจตนารมณ์ของผู้ประกอบการที่มีสายตากว้างไกล เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาระบบบริหารคุณภาพ
 ลักษณะสำคัญของ มาตรฐาน ISO 9000
                1. เป็นมาตรฐาน เกี่ยวกับระบบบริหารคุณภาพเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจด้วยการยึดหลักของคุณภาพ
                 2. เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่สามารถนำไปใช้กับกิจกรรมทุกประเภท
                 3. เป็นมาตรฐานที่นานาชาติยอมรับ และใช้เป็นมาตรฐานของประเทศ
                 4. เป็นระบบการบริหารคุณภาพที่เกี่ยวกับทุกแผนกงาน และทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม
                 5. เป็นการบริหารคุณภาพจากขั้นตอนในกระบวนการนั้น ๆ
                 6. เป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญในเรื่องของเอกสารการปฏิบัติงาน โดยนำสิ่งที่มีการปฏิบัติอยู่มาทำเป็นเอกสาร แล้วจัดเป็นหมวดหมู่มีระบบทำให้นำไปใช้งานได้สะดวกและเกิดประสิทธิภาพ
                 7. เป็นระบบงานที่เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขปรับปรุงขั้นตอนในการปฏิบัติงาน วิธีการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการทำงานได้ตลอดเวลา
                 8. เป็นมาตรฐานขององค์กรทั้งหมด
                 9. เป็นมาตรฐานคุณภาพที่ประเทศไทยรับรองเป็นมาตรฐานคุณภาพ มอก. 9000
ประโยชน์ของ ISO 9000
                ในการนำระบบ ISO 9000มาใช้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพนักงานที่ปฎิบัติงาน ต่อองค์กร หรือบริษัท รวมทั้งผู้ซื้อก็ได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้
 1.ประโยชน์ต่อพนักงาน
1)มีส่วนร่วมในการดำเนินงานระบบคุณภาพ
       2) ทำให้เกิดความพอใจในการปฎิบัติงาน
    3) พนักงานจิตสำนึกในเรื่องของคุณภาพมากขึ้น
    4) การปฎิบัติงานมีระบบ และมีขอบเขตที่ชัดเจน
    5) พัฒนาการทำงานเป็นทีม หรือเป็นกลุ่ม
 2.ประโยชน์ต่อองค์กรหรือบริษัท
 1)พัฒนาการจัดองค์กร การบริหารงาน การผลิต ตลอดจนการให้บริการเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ
    2)ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่เชื่อถือได้ และได้รับการยอมรับทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
3)ขจัดปัญหาข้อโต้แย้งและการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ
    4) องค์กรได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ชื่อเสียงในหนังสือรายชื่อผู้ประกอบการ  ทำให้ภาพพจน์ขององค์กรดี เป็นที่ยอมรับว่าเป็นองค์กรที่มีระบบการบริหารได้มาตรฐานระดับโลก
       5)ช่วยประหยัดต้นทุนในการดำเนินงาน ซึ่งเกิดจากการทำงานที่มีระบบ มีประสิทธิภาพขึ้น สินค้าผลิตสูงขึ้น ตลาดคล่องตัวขึ้น
 3.ประโยชน์ต่อผู้ซื้อ หรือผู้บริโภค
 1)ช่วยให้มั่นใจในผลิตภัณฑ์และบริการ
 2) มีความสะดวก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซ้ำอีก
 3)ได้รับการคุ้มครองทั้งในคุณภาพ ความปลอดภัย และการใช้งาน โดย Certification Bodiesในฐานะผู้ให้การรับรองจะเป็นผู้ตรวจสอบ ประเมิน และติดตาม ผลของโรงงานทีได้การรับรองระบบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ


สรุป ประโยชน์จากการนำระบบคุณภาพ ISO 9000 มาใช้สามารถพัฒนาบุคลากร พัฒนาที่ทำงาน และเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารภายในองค์กร สามารถลดค่าใช้จ่ายและต้นทุนในการผลิต ตลอดจนความสูญเสียต่างๆ อันเกิดจากการผลิต ทั้งนี้เพราะระบบคุณภาพ ISO 9000 สร้างจิตสำนึกในการทำงานให้กับพนักงาน มีการทำงานที่มีระบบ มีแนวปฎิบัติที่ชัดเจน สามารถควบคุมและตรวจสอบได้ง่ายขึ้น และที่สำคัญคือ สามารถเพิ่มผลผลิตและสร้างภาพพจน์ที่ดีแก่องค์กร  นับเป็นการประกาศเกียรติคุณอีกทางหนึ่งด้วย
อ้างอิงจากhttp://iso90002008thai.blogspot.com/